นักพัฒนาซอฟแวร์


โปรแกรมเมอร์ หรือ นักเขียนโปรแกรมหรือนักพัฒนาซอฟแวร์ มีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่นภาษา JAVA, JavaScript, PHP,C#, Python นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ทดสอบรหัสหรือโค้ดเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ทำงานได้ และในกรณีที่เกิดปัญหาจากการทำงานของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์จะทำการตรวจสอบรหัสที่เกิดข้อผิดพลาดและซ่อมแซมแก้ไขให้ถูกต้อง ปัจจุบันนี้โปรแกรมเมอร์ ยังคงเป็นอาชีพที่ต้องการสูงของตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะในไทยหรือต่างประเทศ เพราะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไอทีและดิจิทัล มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ

อาชีพโปรแกรมเมอร์ เป็นตำแหน่งงานที่มีความต้องการของบริษัททั้งภาครัฐและเอกชน โดยอาชีพนี้เป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดหรือปรับเปลี่ยนไปสายงานที่ใกล้เคียงได้ เช่น Web Developer, Mobile application, QA Engineer, Software Engineer, นักพัฒนาระบบสารสนเทศ, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักวิทยาการข้อมูล (Data Science), นักพัฒนาระบบด้านอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things), นักพัฒนาระบบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cybersecurity) นอกจากนี้อาชีพโปรแกรมเมอร์ยังสามารถเริ่มต้นจากการรับเขียนโปรแกรม และเปิดบริษัทเป็นของตนเอง

ทักษะและประสบการณ์

ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ 
เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะคอมพิวเตอร์ถือเป็นเครื่องมือทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวโปรแกรมเมอร์เลยทีเดียว ทักษะพื้นฐานความเข้าใจต่าง ๆ ต้องเรียกได้ว่าอยู่ในสายเลือด 

ทักษะเฉพาะทางในการเขียนโปรแกรม 
ทักษะเฉพาะที่จำเป็นต้องมีสำหรับโปรแกรมที่ต้องเขียนและพัฒนาโปรแกรม ถ้าหากยิ่งพัฒนาการเขียนได้หลากหลายภาษาแล้วก็จะยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

ทักษะการวิเคราะห์
 การวิเคราะห์เป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานสร้างสรรค์ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก โปรแกรมเมอรต้องคิดวิเคราะห์ความเป็นไปของระบบ และข้อดีข้อเสียต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดแม่นยำ 

ทักษะการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงานนี้ เพราะเมื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด ต้องสามารถแก้ไขปัญหาที่พบเพื่อให้โปรแกรมทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ และทันเวลา 


การเรียนต่อ

– คณะวิศวกรรมศาสตร์
– คณะวิทยาศาสตร์
– คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

อื่น ๆ