นักกายอุปกรณ์
นักกายอุปกรณ์ (Prosthetist & Orthotist) เป็นผู้ทำหน้าที่ผลิตอุปกรณ์เพื่อฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยที่สูญเสียอวัยวะหรือมีอวัยวะภายนอกส่วนหนึ่งส่วนใดผิดปกติ การทำงานของนักกายอุปกรณ์จะต้องใช้ความรู้ผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และศิลปะในการออกแบบและผลิต “กายอุปกรณ์เทียม” เพื่อทดแทนอวัยวะในส่วนที่หายไป และผลิต “กายอุปกรณ์เสริม” เพื่อช่วยให้อวัยวะที่ผิดปกติกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงปกติและมีประสิทธิภาพอีกครั้ง โดยมีลักษณะการทำงานหลัก คือ ศึกษาข้อมูลการตรวจรักษาผู้ป่วยจากแพทย์ พร้อมทั้งตรวจประเมินร่างกายผู้ป่วยในเบื้องต้น เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสำหรับใช้ออกแบบและผลิตกายอุปกรณ์ให้กับผู้ป่วยต่อไป
การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ
การเตรียมตัวสู่การเป็นนักกายอุปกรณ์ จะต้องเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ ดังนี้
– เตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขากายอุปกรณ์ หรือ ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์
– เตรียมความรู้และทักษะให้พร้อมทั้งด้าน Hard Skills และ Soft Skills และควรศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสายงานเพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ
– วางแผนการสมัครงาน โดยสามารถเลือกสมัครงานได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกต่าง ๆ
ทักษะและประสบการณ์
– ทักษะการบริหารจัดการ
– ทักษะการออกแบบและผลิตกายอุปกรณ์
– ทักษะในการปรับตัว ยืดหยุ่น พร้อมรับมือกับงานที่เปลี่ยนแปลงบ่อย
– ทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วย
การเรียนต่อ
–
แหล่งข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก
คลิปวิดีโอที่แนะนำ
แนะนำอาชีพจากศิษย์เก่า: นักกายอุปกรณ์
รายการอ้างอิง
We Mahidol. (2021, July 6). นักกายอุปกรณ์ [Video file]. Video posted to https://careers.mahidol.ac.th/ep1_orthotic/
อื่น ๆ
–