นักวิชาการโภชนาการ


นักวิชาการโภชนาการ(ประจำโรงพยาบาล) จะมีหน้าที่แบ่งออกเป็น 2 หน้าที่หลัก 1) ด้านบริการอาหาร ดูแลโภชนาการทางด้านอาหารให้กับคนไข้ในโรงพยาบาล 2) ด้านคลินิก (ให้โภชนบำบัด และโภชนศึกษา) คือการติดตามสอบถามข้อมูลอาการ ประเมินภาวะโภชนาการตามขั้นตอน วางแผนและปรับปรุงโภชนบำบัดร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงมีการทำงานวิจัยเพิ่มเติม โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาท

การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ

การเตรียมตัวสู่การเป็นนักวิชาการโภชนาการจะต้องเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ ดังนี้
– ติดตามข้อมูลการสมัครงานของเว็บไซต์โรงพยาบาล
– เตรียมเอกสารตามข้อกำหนดของการสมัครงาน
– เตรียมตัวสอบภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการสมัครงาน เช่น TOEIC IELTS เป็นต้น
– การฝึกการตอบคำถามสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
– เตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์ และการนำเสนอตนเองถึงความเหมาะสมที่จะได้รับคัดเลือกเข้าทำงาน
– เตรียมตัวในการสอบปฏิบัติ ศึกษาและตั้งใจฝึกปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ
– เตรียมตัวสอบใบประกอบโรคศิลปะ สาขากำหนดอาหาร

ทักษะและประสบการณ์

การได้มีโอกาสฝึกงานในสถานประกอบการที่เราตั้งใจร่วมงาน จะทำให้เราได้เรียนรู้ และเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรมายิ่งขึ้น
– ทักษะด้านการแก้ไขเฉพาะหน้า และการบริหารเวลา
– ทักษะการสื่อสารกับคนไข้
– การศึกษาหาความรู้และ ติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ
– ทักษะการคิด วิเคราะห์ ตรวจสอบข้อมูล

การเรียนต่อ

– หากท่านมีความสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?p=curriculum&id=5201M01S
– หากท่านมีความสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://graduate.mahidol.ac.th/thai/?p=curriculum&id=7403M02G

แหล่งข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก

คลิปวิดีโอที่แนะนำ

รายการอ้างอิง

อื่น ๆ 

– สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย www.thaidietetics.org
– อาชีพอื่น ๆ ในสายงานใกล้เคียงกัน เช่น อาชีพผู้แทนอาหารทางการแพทย์ นักวิชาการ หรือรับราชการ