นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา
นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา ทำหน้าที่ในการรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้กับนักกีฬา นอกจากนี้จะต้องวิเคราะห์ท่าทาง การฝึกเพิ่มเติมในส่วนการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับนักกีฬา ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยที่งานทั้งสองอาชีพมีความเชื่อมโยงกัน โดยการทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลักดังนี้ 1. ช่วงซ้อมกีฬา จะทำหน้าที่ในการดูแลนักกีฬาก่อนซ้อม ระหว่างซ้อม และหลังซ้อม หากนักกีฬาได้รับบาดเจ็บจะต้องเข้ารักษาอาการบาดเจ็บทันที ซึ่งหากนักกีฬาได้รับบาดเจ็บ เข้ารับการผ่าตัดนักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา จะทำหน้าที่ในการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาสมบูรณ์ 2. ช่วงแข่งกีฬา จะเป็นช่วงที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลา โดยจะต้องเตรียมนักกีฬาให้มีความพร้อม เช่น การพันเทป และในระหว่างแข่งขัน จะต้องจับตาดูนักฬาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากนักกีฬาได้รับบาดเจ็บจะต้องดูว่านักกีฬาได้รับบาดเจ็บอย่างไร พิจารณาการลงแข่งขันต่อ การวางแผนแข่งขันครั้งถัดไป และในส่วนของหลังการแข่งขัน จะดูในเรื่องของการยืดกล้ามเนื้อ และการรักษาจากการบาดเจ็บ
นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา ไม่เพียงมีความคาดหวังจากตัวนักกีฬา จากทีม ก็จะมีความคาดหวังของแฟนคลับของตัวนักกีฬาที่คาดหวังว่าจะได้เห็นนักกีฬากลับมาลงแข่งอีกครั้ง ซึ่งเป็นความท้าทายในการทำงานอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น
ในการทำงานในรูปแบบฟรีแลนซ์ จะต้องมีทักษะที่ดีในการจัดการเวลา จัดการกับสภาพร่างกายเพื่อให้พร้อมกับการรับนักกีฬาตามศักยภาพ ในการดูแลทีมชนิดกีฬาที่แตกต่างกัน นักกายภาพบำบัดจะต้องสังเกตการเคลื่อนไหวของร่างกายในแต่ละชนิดกีฬา เพื่อวิเคราะห์ และประเมินการใช้กล้ามเนื้อของนักกีฬา เพื่อช่วยในการรักษาฟื้นฟูสภาพร่างกายได้อย่างตรงจุด ในการได้งาน ส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำต่อกัน
นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา มีรายได้เริ่มต้นประมาน 15,000 บาท แต่หากเป็นฟรีแลนซ์รายได้จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับงาน
การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ
การเตรียมตัวสู่การเป็นนักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬาจะต้องเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ ดังนี้
– ติดตามการรับสมัครจากหน้า Facebook Fanpage จากทีมกีฬาที่เราสนใจสมัคร
– เตรียม Resume ในส่วนของประสบการณ์
– เตรียมความรู้พื้นฐานทางด้านกายภาพบำบัด และการวางแผนการรักษา ฟื้นฟู เมื่อนักกีฬาได้รับบาดเจ็บ
– การเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ทางด้านทักษะในการทำงานเป็นทีม
– การสอบใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด 3 หัวข้อ ดังนี้
1. วิชากฎหมายและจรรยาบรรณและการบริหารงาน
2. วิชาเทคนิคและวิธีการทางกายภาพบำบัด
3. วิชากายภาพบำบัดในโรคและภาวะต่าง ๆ
ทักษะและประสบการณ์
– นำประสบการณ์จากการเรียนในการวิเคราะห์ท่าของนักกีฬา สามารถนำมาพัฒนาปรับใช้ในการทำงานได้
– นำความรู้จากการเรียนเรื่องการแปะเทปให้กับนักกีฬามาปรับใช้ในการแข่งขัน
– ทักษะการสื่อสาร เชิงจิตวิทยา เพื่อให้นักกีฬามีกำลังใจในการรักษาและ สามารถกลับมาแข่งขันต่อได้
– ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
การเรียนต่อ
– หากท่านมีความสนใจในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในคณะกายภาพบำบัด สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (Click) https://graduate.mahidol.ac.th/thai/?p=curriculum&id=6801M02G
แหล่งข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก
คลิปวิดีโอที่แนะนำ
แนะนำอาชีพจากศิษย์เก่า: นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา
https://careers.mahidol.ac.th/ep30-sports-physiotherapist/
รายการอ้างอิง
We Mahidol. (2021, May 17). นักกายภาพบำบัดทางด้านกีฬา [Video file]. Video posted to https://careers.mahidol.ac.th/ep30-sports-physiotherapist/
อื่น ๆ
– สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบได้จาก เว็บไซต์สภากายภาพบำบัด https://pt.or.th/PTCouncil/
– สายงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เรียนเฉพาะทางเพื่อเป็นแพทย์สนาม หรือ มุ่นเน้นไปทาง Coaching ในการดูแลนักกีฬารวมถึงการดูแลด้านโภชนาการด้วย