ผู้สื่อข่าว
ผู้สื่อข่าว (NEWS Reporter) ทำหน้าที่ในการผลิตข่าวหลากหลายรูปแบบเพื่อส่งต่อให้ผู้ประกาศข่าวในห้องส่งต่อไป โดยมีรูปแบบการทำงาน 3 แบบคือ 1) รูปแบบทั่วไป เรียกว่าการโปรย คือการจัดทำเนื้อหาของข่าวให้อยู่ในรูปแบบที่จดจำได้ง่ายและเล่าออกมาให้รูปแบบไฮไลท์ก่อนเข้าสู่เนื้อหาข่าว 2) รูปแบบสกู๊ปข่าว เป็นการเจาะลึกลงไปในเนื้อหารายละเอียดบางอย่างของข่าวซึ่งต้องมีการลงลึกกว่าข่าวทั่วไป 3) รูปแบบการรายงานข่าวสด คือการลงพื้นที่เพื่อทำข่าวเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น โดยต้องมีการเตรียมตัวทำข่าวก่อนและมีการรายงานทันทีเมื่อถึงเวลา อาชีพนี้มีรายได้เริ่มต้น 15,000 บาท และเหมาะสำหรับผู้ที่อยากทำงานที่มีคุณค่าและได้เดินทางอยู่เสมอ โดยมีการเติบโตตามสายงานคือการเป็น บรรณาธิการข่าว หรือผู้ประกาศข่าว เป็นต้น
โดยมีลักษณะการทำงานในแต่ละวันเริ่มจาก
– อัปเดตข้อมูลข่าวสารและติดตามข่าวต่าง ๆ ประจำวัน
– รับมอบหมายการทำข่าวต่างๆ จากบรรณาธิการข่าว (หัวหน้าทีม)
– สัมภาษณ์ ค้นหาข้อมูล ทำข่าวที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
– เขียนและเรียบเรียงข่าวรวมถึง แปลกราฟ ผลสำรวจ ผลวิจัย ออกมาให้คนดูสามารถเข้าใจได้ง่าย
การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ
การเตรียมตัวสู่การเป็นผู้สื่อข่าว จะต้องเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ ดังนี้
– เริ่มได้ตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษา โดยเน้นการทำกิจกรรมที่มีการพูดนำเสนอผลงาน
– ฝึกการเขียนข่าวและการอ่านข่าว โดยการพิมพ์บทข่าวที่ตนเองสนใจออกมาและอ่านตามลักษณะการอ่านข่าวของผู้ประกาศข่าวของบทข่าวนั้น ๆ และฝึกการเขียนข่าวโดยการนำเหตุการณ์ที่สนใจมาเขียนเป็นบทข่าวเพื่อรายงานในเวลาที่กำหนด
– ทำบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยเข้ารับการอบรมที่ กรมประชาสัมพันธ์ (https://training.prd.go.th/main.php?filename=course1) หรือสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (http://announcer.nbtc.go.th/th/)
– การสมัครงานในปัจจุบันใช้ Online Résumé เป็นหลัก ผู้สมัครงานควรเลือกใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องเช่น www.canva.com เพื่อทำ Résumé ให้ออกมามีรูปแบบสวยงาม โดยให้เน้นที่รูปการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสมัยเรียน ผู้สมัครงานควรบันทึกวีดีโอการอ่านข่าวของตนเองและแนบไฟล์ข่าวที่เขียนด้วยตนเองแนบกับ Résumé ไปด้วย โดยสามารถส่ง Résumé สมัครงานได้ที่สำนักข่าวที่ตนเองสนใจได้โดยตรง
– โดยปกติการสมัครงานจะมีการสอบเป็นขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
1. การสอบข้อเขียนจะเป็นข้อสอบแนวกำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เข้าสอบเสนอความคิดเห็นในการทำงานและแก้ไขสถานการณ์
2. การทดสอบการเขียนข่าว เช่น การให้ข้อมูลจากงานการแถลงข่าว แก่ผู้เข้าสอบเพื่อให้ผู้เข้าสอบเขียนบทขึ้นมาใหม่สำหรับการรายงานข่าว 1 นาทีครึ่ง เป็นต้น
3. การสอบภาษาอังกฤษด้านไวยากรณ์และความรู้พื้นฐานในการสนทนา
4. ทดสอบการอ่านข่าวหน้ากล้องคือการกำหนดข่าวมาให้แก่ผู้เข้าสอบ แล้วให้ผู้เข้าสอบประมวลผลและรายงานสดภายในเวลาจำกัด
5. สอบสัมภาษณ์กับผู้จัดการฝ่ายข่าวเพื่อทำความเข้าใจกับธรรมชาติการทำงานของบริษัทและวัฒนธรรมองค์กร
ทักษะและประสบการณ์
– มีความเข้าใจในจรรยาบรรณสื่อ
– มีทักษะการสื่อสารที่ดี โดยเฉพาะการฟัง
– มีทักษะการคิดแบบวิพากษ์ (Critical Thinking)
– ทักษะความมีเหตุผล การแก้ปัญหา และการนำเสนอความคิด
– ทักษะการควบคุมอารมณ์
– ทักษะการทำงานเป็นทีม
การเรียนต่อ
หากต้องการความก้าวหน้าทางสายอาชีพสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเติบโตเป็นผู้จัดการหรือผู้บริหาร หรือเปลี่ยนสายงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม นักวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การสื่อสาร นักประชาสัมพันธ์ หรือนักสื่อสารองค์การ สามารถศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยมหิดล (https://graduate.mahidol.ac.th/thai/?p=curriculum&id=7302M01S)
แหล่งข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก
คลิปวิดีโอที่แนะนำ
แนะนำอาชีพจากศิษย์เก่า: ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ
https://careers.mahidol.ac.th/ep8-correspondent/
บทเรียนแนะนำจาก LinkedIn Learning
Course: Speaking Confidently and Effectively
(By Pete Mockaitis)
https://www.linkedin.com/learning/speaking-confidently-and-effectively/great-speaking-skills-are-a-must-have?u=91782594
รายการอ้างอิง
We Mahidol. (2021, Aug 6). ผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ [Video file]. Video posted to https://careers.mahidol.ac.th/ep8-correspondent
LinkedIn Learning. (2021, Aug 6). Speaking Confidently and Effectively [Video file]. Video posted to https://www.linkedin.com/learning/speaking-confidently-and-effectively/great-speaking-skills-are-a-must-have?u=91782594
อื่น ๆ
–