นักสื่อสารวิทยาศาสตร์


นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ เป็นผู้รวบรวมเรื่องราวความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยค้นพบ เพื่อนำมาถ่ายทอดให้บุคคลทั่วไป ซึ่งแตกต่างกับนักวิทยาศาสตร์ รวบรวมข้อมูล ค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสาขาที่เฉพาะทางไปเลย

การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ

เริ่มจากคุณต้องเริ่มจากความชอบ แล้วอยากเล่าเรื่องนี้ เผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ฟัง เช่น กรณีสื่อสารวิทยาศาสตร์ โดยใช้ Podcast เป็นสื่อกลางเพื่อส่งสารให้กับผู้ฟัง สามารถเริ่มต้นได้จาก 

Step 1 คัดเลือกเรื่องราวที่ชื่นชอบ และชวนขบคิดได้ พร้อมหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ได้มากที่สุด
Step 2 Format รายการเราจะเปนแบบไหน 
Step 3 จัดรายการ แล้วนำมาตัดต่อ พร้อมเช็คข้อมูลให้ถูกต้อง เนื่องจากเป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับสาระวิทยาศาสตร์ ดังนั้นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
Step 4 หาวิธีการเผยแพร่ ให้คนรู้จักและติดตามมากยิ่งขึ้น ศึกษาการทำ Social media ต่างๆ อาจจะหาวิธีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ฟัง เพื่อนำข้อมูลมาประกอบกับการพัฒนาในการทำงานครั้งถัดไป

นอกจากการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่าน Podcast แล้ว ยังมีอีกหลายช่องทางที่สามารถใช้ได้ เช่น
การเขียนหนังสือ การวาดภาพ การเป็นวิทยากร เป็นต้น และเนื่องจากเป็นการจัดรายการวิชาการ
ทำให้สามารถทำเป็นโครงการและของบสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย

ทักษะและประสบการณ์

– มีศิลปะและเทคนิคในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ เพื่อสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– ทักษะและเทคนิคในการเขียน 
– การคิดอย่างมีวิจารณญาณ.
– มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

การเรียนต่อ

แหล่งข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก

คลิปวิดีโอที่แนะนำ






บทเรียนแนะนำจาก MUX



บทเรียนแนะนำจาก LinkedIn Learning


รายการอ้างอิง

Danny Ozment. (2021, March 11). Producing Podcasts. [Video file]. Video posted to https://www.linkedin.com/learning/producing-podcasts/podcast-production-from-an-idea-to-a-following
We Mahidol. (2021, March 11). นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ อาชีพนี้ทำอะไร | We Mahidol [Video file].  Video posted to https://www.youtube.com/watch?v=xSpCPEz5CcM

อื่น ๆ