นักกีฏวิทยา


นักกีฏวิทยา เป็นผู้ที่มีความสนใจ และมีหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยในทุกเรื่องราวที่เกี่ยวกับแมลง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง รูปร่างลักษณะสัณฐาน กายวิภาค วงจรชีวิต การเจริญเติบโต การดำรงชีวิตของแมลง ความสัมพันธ์ระหว่างแมลงกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแมลง ไปจนถึงจัดทำระบบฐานข้อมูลหมวดหมู่ การวางรูปแบบ การวิเคราะห์ชนิดและการวินิจฉัยลำดับอนุกรมวิธานแมลง เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่ให้กับบุคลคลทั่วไปและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้มาช่วยพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ในการแก้ไข ควบคุม และป้องกันปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่มีสาเหตุมาจากแมลงได้อีกด้วย

การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ

ในอาชีพของนักกีฏวิทยานั้นไม่จำเป็นจะต้องมาในสายงานของราชการเพียงอย่างเดียว เนื่องจากการประกอบอาชีพนักกีฏวิทยานั้นมีหลายมุมมาก บางคนที่ชอบถ่ายภาพแมลง ก็อาจนำภาพที่ได้ไปใช้ทำหนังสือ หรือขายภาพแมลงในอินเทอร์เน็ต หรืออาจไปทางสายงานเอกชน เช่น บริษัทที่ทำงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ฆ่าแมลง, อาหารเสริมหรืออาหารแปรรูปที่พัฒนามาจากแมลง หรืออาจเปิดธุรกิจที่เกี่ยวกับแมลงเป็นของตนเอง สุดท้ายอาจจะไปทางสายวิชาการ เป็นนักวิจัยอิสระ นักวิชาการ จึงทำให้อาชีพนักกีฏวิทยา จึงมีความหลากหลายทางอาชีพสูงมาก แล้วแต่ว่าสายงานนั้น ๆ จะเหมาะกับบุคลิกของตนเองมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่การประกอบอาชีพเป็นนักกีฏวิทยา สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ จะต้องมีความสนใจ ชอบค้นคว้า และอยากที่จะค้นหาความจริงเกี่ยวกับแมลง และจะต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านชีววิทยาของแมลง ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ทักษะและประสบการณ์

– มีความรู้พื้นฐาน และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
– ทักษะและประสบการณ์ในการเก็บตัวอย่างและออกภาคพื้นสนาม
– ทักษะการสังเกต
– ทักษะการแก้ไขปัญหา
– ทักษะการสื่อสาร 
– ทักษะการทำงานเป็นทีม

การเรียนต่อ

สามารถเรียนต่อในสาขาเฉพาะทางด้านกีฏวิทยา หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในระดับบัณฑิตศึกษา 

แหล่งข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก

รายการอ้างอิง

อื่น ๆ