นักเทคโนโลยีชีวภาพ


นักเทคโนโลยีชีวภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาด้านเทคโนโลยีชีวภาพโดยรวมหรือทั้งหมด เทคโนโลยีชีวภาพเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้วัสดุชีวภาพในการแก้ปัญหาเทคโนโลยีบางอย่างรวมถึงการดำเนินโครงการในด้านการผสมและวิศวกรรมพันธุวิศวกรรม พื้นฐานของความเชี่ยวชาญคือพันธุศาสตร์เช่นเดียวกับพื้นที่สำคัญของชีววิทยาและคัพภ เทคโนโลยีชีวภาพยังมีพื้นฐานมาจากสาขาวิชาประยุกต์บางสาขาโดยเฉพาะด้านหุ่นยนต์

อาชีพนี้เป็นที่น่านับถือจ่ายดีและค่อนข้างเก่า หนึ่งในเทคโนโลยีชีวภาพครั้งแรกโดยวิธีการคือการผลิตเบียร์ วันนี้งานของนักวิทยาศาสตร์และผู้ปฏิบัติงานมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาของการแพทย์, พันธุศาสตร์, ยา, การเกษตร, อุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ใช้การพัฒนาของพวกเขา การค้นพบจำนวนมากเป็นโลกในธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงไม่เพียง แต่เฉพาะประสิทธิภาพของทิศทางที่เฉพาะเจาะจง แต่ยังรวมถึงชีวิตของมนุษยชาติโดยรวม ตัวอย่างที่เด่นชัดคือการเลือกและการดัดแปลงพันธุกรรมของพืชและการโคลน

การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ

หลังสำเร็จการศึกษา สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม-เอกชน การประกอบวิชาชีพอิสระ รวมถึงการมีธุรกิจส่วนตัวในสาขาวิชาที่เรียนมา โดยสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยในสถาบันวิจัย (ศูนย์พันธุวิศวกรรมฯ หรือ กระทรวง กรมต่างๆ หรือเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน นักศึกษาสามารถเข้าทำงานได้หลายฝ่าย เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิตวิจัยและพัฒนา หรือควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ หรือบริษัทตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ

ลักษณะงานหลังสำเร็จการศึกษา
หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนากระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นต้น

หน่วยงานเอกชน โรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น โรงงานผลิตกรดอินทรีย์ เอทานอล น้ำตาล เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอาหารสัตว์ ยาและเวชภัณฑ์ และสารสกัดจากพืช เป็นต้น

ทักษะและประสบการณ์

– มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์การเกษตร และจุลชีววิทยาประยุกต์
– มีความรู้ความสามารถในการดัดแปลงเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้
– สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถประมวลความรู้ และนำความรู้ไปประยุกต์ได้

การเรียนต่อ

– คณะเทคโนโลยีชีวภาพ  สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ   
– คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 
– คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
– คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภาควิชาเทคโนโลยี 
– คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและชีวสารสนเทศ  

แหล่งข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก

รายการอ้างอิง

งานเทคโนโลยีชีวภาพ นักเทคโนโลยีชีวภาพมืออาชีพ: ไม่ว่าจะทำข้อดีและข้อเสีย การกระจายตำแหน่งงานว่างตามภูมิภาค
https://zavodilov.ru/th/beznalichnye/biotehnologiya-rabota-professiya-biotehnolog-stoit-li/
ทักษะงานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
https://www.admissionpremium.com/content/1398
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
https://te.kku.ac.th/?page_id=435

อื่น ๆ