นักธรณีศาสตร์ผู้ช่วย


นักธรณีศาสตร์ผู้ช่วย เป็นผู้ศึกษา สำรวจและขุดเจาะพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกเพื่อการผลิตปิโตรเลียม รวมถึงเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลทางธรณีวิทยาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ต่อไป โดยนักธรณีศาสตร์ผู้ช่วย เมื่อผ่านช่วง Training แล้วจะสามารถเลือกการประกอบอาชีพต่อในในสายอาชีพของนักธรณีวิทยา หรือนักธรณีฟิสิกส์ ซึ่งสามารถเติบโตได้ทั้งในสายงานบริหาร และผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ นักธรณีศาสตร์ผู้ช่วย มีลักษณะการทำงานในแต่ละวัน แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ

1. งานส่วนแท่นขุดเจาะน้ำมัน จะมีหน้าที่ช่วยควบคุมการดูแลการขุดเจาะน้ำมัน วิเคราะห์โครงสร้างการเรียงตัวของหิน เช่น หินข้างล่างพื้นที่นั้น เป็นหินชนิดใด มีการเรียงตัวแบบไหน เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. งานส่วนสำนักงาน จะมีหน้าที่นำตัวอย่างหินและตัวอย่างน้ำมันที่ได้จากการขุดเจาะน้ำมันไปวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาวิเคราะห์พื้นที่ขุดเจาะน้ำมัน ว่ามีประสิทธิภาพในด้านปิโตรเลียมที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการขุดเจาะน้ำมันมากน้อยเพียงใด

การเตรียมตัวสู่การประกอบอาชีพ

การเตรียมตัวสู่การเป็นนักธรณีศาสตร์ผู้ช่วย สามารถเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การเตรียมตัวด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากสายงานธรณีวิทยาในปัจจุบัน จะต้องมีการร่วมงาน ประชุมหารือและพบปะกันกับชาวต่างชาติอยู่เป็นประจำ
2. การเตียมตัวทำ Resume (แนะนำให้ทำเป็น Resume ภาษาอังกฤษ) โดยใส่ข้อมูลประสบการณ์การทำงาน, กิจกรรมที่พัฒนา Soft Skills และกิจกรรมทางด้านวิชาการ
3. ควรหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสายงานเพิ่มเติม เช่น การหาความรู้จากการอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้อง “Petroleum Geology” Text book หรือหนังสือที่เกี่ยวข้องกับธรณีฟิสิกส์ “Seismic Interpretation”,การเข้าร่วมงานสัมนาทางวิชาการในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น งานสัมนา “KM Week” ที่จัดโดยบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
4. เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบเพื่อสมัครงาน มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
a. แบบทดสอบด้านเชาวน์ปัญญา คิดวิเคราะห์โจทย์เชิงคณิตศาสตร์แบบพื้นฐานทั่วไป
b. แบบทดสอบด้านวิชาการ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แบบทดสอบด้านธรณีวิทยาปิโตรเลียม และแบบทดสอบด้านธรณีฟิสิกส์
c. การสัมภาษณ์ แบ่งเป็น การสัมภาษณ์โดยการ Discussion ด้านวิชาการ และการสัมภาษณ์ทั่วไปเชิงจิตวิทยา
d. แบบทดสอบการทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ทักษะและประสบการณ์

– ทักษะการวางแผน
– ทักษะการทำงานเป็นทีม
– ทักษะการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารอย่างตรงประเด็น
– ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เนื่องจากต้องทำงานภายใต้สถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง
– ต้องมีการพัฒนาศักยภาพของตัวเองควบคู่ไปกับการพัฒนาความร็ด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ
– ต้องมีการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

การเรียนต่อ

แหล่งข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมหิดลและหน่วยงานภายนอก

รายการอ้างอิง

We Mahidol. (2021, July 1). นักธรณีศาสตร์ผู้ช่วย [Video file]. Video posted to https://careers.mahidol.ac.th/ep2_assistant-geophysicist/

อื่น ๆ